ความท้าทายของการเล่นหมากล้อม Tripple Go

การเล่นหมากล้อมปกติจะเล่นกันสองคนโดยผู้เล่นจะคนหนึ่งจะเล่นหมากดำ อีกคนหนึ่งจะเล่นหมากขาว แต่ก็มีหมากล้อมอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า “ทริปเปิ้ล โกะ” Tripple Go เป็นการเล่นหมากล้อมแบบฝั่งละ 3 คน

การแข่งขันหรือการเล่น Tripple Go นั้นเป็นการที่ผู้เล่นฝั่งล่ะ3คนรวม6คน เล่นหมากล้อมกระดานเดียวกันโดย พลัดกันเดินหมากคนล่ะเม็ด สลับกันไปโดยที่ห้ามบอกหรือปรึกษากัน
วิธีการเล่นแบบนี้จะว่าไปเมืองไทยน่าเป็นที่แรกที่จัดการแข่งหรือเล่นแบบนี้ สิ่งที่ผมสังเกตได้จากการเล่นTripple goนี้นั่น
ความยากลำบากคือแต่ล่ะคนฝีมือเชิงหมากล้อมไม่เท่ากันเลย แล้วจะทำอย่างไรให้ทีมเดินหน้าและฝ่าฝัน
อุปสรรค์ไปได้ ความรู้ความสามารถ กลยุทธ์ต่างๆต้องถูกนำออกมาใช้ ให้ถูกที่ ถูกเวลา ถูกสถานการณ์ และถูกใช้อย่างเหมาะสม กับผู้ร่วมทีม การเลือกการวางหมากวางกลยุทธ์ บางครั้งเราเลือกกลยุทธ์ที่ยาก เกินกว่าผู้ร่วมทีมจะเข้าใจ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การเล่นเป็นไปด้วยความยากลำบาก เลือกใช้กลยุทธ์ที่ง่ายไปก็จะต้องตกเป็นฝ่ายตั้งรับ การทำงานเป็นทีมต้องประสานกัน ต้องเชื่อมโยงเป็นเนื้อเดียวกันเหมือนห่วงโซ่ โซ่หากมีเพียงข้อข้อเดียวไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ แต่หากแต่ล่ะห่วงข้อนำมาร้อยเรียงกัน จะมีพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สามารถลากจูงสิ่งที่หนักได้หรือใช้ทำประโยชน์อะไรได้อีกมากมาย

ในแต่ล่ะทีมนั้นจะมีผู้นำเสมอ
ผู้นำจะเป็นผู้ที่กำหนดกลยุทธ์ ว่าควรเดินแบบไหนดี หากเสียเปรียบจะแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร สิ่งต่างๆเหล่านี้ต้องมาจากการวางแผนการเล่นในเบื้องต้น หากไม่มีการวางแผนหรือรู้ฝีมือเพื่อนร่วมทีม เกมนั้นๆจะตกเป็นรองฝ่ายที่เตรียมการเป็นอย่างดี ทั้งนี้ต้องขึ้นกับเวลาที่มีการเตรียมการอย่างดี หากไม่มีเวลาเตรียมการหรือวางแผนไว้นั้น ต้องอาศัยความเข้าใจของแต่ล่ะบุคลที่ร้อยเรียงหมากแต่ล่ะตาที่เชื่อมโยงกันกัน
เกมที่ดีนั้นคือเกมที่สมดุลย์ระหว่างตัวผู้เล่นการเดินหมากรวมถึงความเข้าใจการสื่อสาร ให้ผู้ร่วมทีมเข้าใจ
ผู้มีฝีมือน้อยกว่าต้องพยายามให้เต็มที่ขณะเดียวกันผู้มีฝีมือมากกว่าต้องลดพลังของตัวเองลงมาให้ใกล้เคียงกับผู้ร่วมทีมแล้วนำหมากที่ร้อยเรียงของแต่ล่ะคนนั้นใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดึงศักยภาพหมากของผู้ร่วมทีมให้ออกมาให้ได้มากที่สุด

 

Tripple goนั้น เราจะเห็นความไม่ได้ดังใจเสมอ ในใจจะคิดว่า น่าจะเดินแบบนี้น่ะ ทำไมไม่เดินเม็ดนั้น ตรงนี้หากเราสังเกตดี จะเห็นใจตัวเอง
ผู้ที่พอเล่นเป็นหรือประสบการณ์มากกว่าในบางครั้ง
จะรู้สึกเพื่อนร่วมทีมทำไมเดินหมากไม่ได้อย่างใจ
ผู้ที่เพิ่งเล่นไม่นาน จะมีความรู้สึกกล้าๆกลัวๆ ไม่มีความมั่นในในการเดินหมาก ว่าควรเดินที่ใดดีกันแน่
บางครั้งอาจไม่ชอบเลยเพราะคิดว่าเล่นคนเดียวดีกว่าซึ่ง
ตรงนี้หากเราได้มีการฝึกบ่อยๆ จะเป็นการพัฒนาตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การประสานงานกับผู้ที่เราไม่รู้จักมากนัก การร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ
การเข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น ตรงนี้จะช่วยในการทำการหรือการดำเนินธุรกิจได้

และที่สำคัญที่สุดในการเล่นTripple goนี้จะสอนให้เรารู้จักการให้อภัย การให้อภัยผู้ร่วมทีมในการเดินหมากที่ผิดพลาด และการให้อภัยตัวเอง เพราะหากมองจากมุมที่ผู้ที่มีความสามารถมากกว่าเราทุกคนย่อมมีจุดผิดพลาดเสมอ เมื่อเราเข้าใจตรงนี้ได้แล้ว
เราจะรู้สึกถึงความท้าทายและความสนุกในเกมหมากล้อม
เราจะรู้สึกว่าในเกมต่อๆไปทำอย่างไรจะพัฒนาผู้เล่นในทีมให้ดีขึ้นกว่าเกมก่อน
เราจะรู้สึกว่าความเปลี่ยนแปลงหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นช่างเหมือนชีวิตจริง ที่ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ทำให้เรารู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
มีใจที่ต้านรับทุกความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
แม้บางครั้งความเปลี่ยนแปลงต่างๆในการดำเนินขีวิตยากที่จะรับไหวแต่
“ทุกสรรพสิ่งที่มีความเปลี่ยนแปลงตั้งรับได้ด้วยสติ”
ที่ได้จากเกมที่มีชื่อว่า #หมากล้อม