หมากล้อมในยุคสมัยราชวงศ์ถังซ่งและหยวน

ในสมัยราชวงศ์ถังและซ่ง หมากล้อมถือเป็นสมัยที่สองเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เนื่องจากบรรดาจักรพรรดิต่างชื่นชอบและเหตุผลอื่นๆ หมากล้อมได้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง ความนิยมเล่นหมากล้อมแผ่ขยายไปทั่วหล้า ในสมัยนี้ หมากล้อมไม่ได้มีประโยชน์แต่เพียงการสงคราม แต่คุณค่าสำคัญคือมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด ให้ความเพลิดเพลินและเพิ่มพูนสติปัญญา  ผู้คนถือว่าการเดินหมากล้อม เล่นดนตรี แต่งบทกวี และการวาดภาพเป็นของที่สูงส่ง กลายมาเป็นเกมการละเล่นของผู้คนทุกเพศทุกวัย

หมากล้อมในยุคสมัยก่อนราชวงศ์ถัง

สมัยชุนชิวถึงสมัยสองฮั่น หมากล้อมค่อยๆแพร่หลาย

สมัยสามก๊ก หมากล้อมมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

สมัยสองจิ้น หมากล้อมปราชญ์ปัญญาชน

สมัยราชวงศ์เหนือและใต้ หมากล้อมเฟื่องฟูอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

สมัยสุยถัง หมากล้อมกับจินตกวี

สมัยอู่ไต้ หมากล้อมในหมู่ผู้คนยากไร้

ต้นกำเนิดหมากล้อม

หมากล้อมมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ชื่อภาษาจีนของหมากล้อม คือ เหวยฉี (围棋, Weiqi) คนจีนสมัยโบราณเรียกหมากล้อมว่า “อี้” (弈, Yi)  หมากล้อมถือเป็นหมากระดานที่เก่าแก่ที่สุดในกลุ่มหมากกระดานสมัยโบราณทุกชนิด มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 4,000 ปีแล้ว  จากในบันทึก “ซื่อเปิ่น” กล่าวว่า จักรพรรดิเหยา (尧, Yao Emperor, 2357-2255 BC) เป็นผู้คิดค้นหมากล้อมขึ้นมา กล่าวว่ารัชทายาทของจักรพรรดิเหยานามว่าตันจู (丹朱, Danzhu)มีสติปัญญาไม่ฉลาด จักรพรรดิเหยาจึงสร้างหมากล้อมขึ้นมาเพื่อสอนรัชทายาทตันจู

มารยาทในการเล่นหมากล้อม (ญี่ปุ่น)

สวัสดีคะ วันนี้เปาก็อยากจะนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการเล่นหมากล้อมอย่างถูกต้องมาฝากผู้อ่านกัน เปาได้มีโอกาสได้ไปเล่นหมากล้อมที่ประเทศญี่ปุ่น ได้สัมผัสกับความมีระเบียบวินัยและมารยาทของคนญี่ปุ่น เพื่อนคนญี่ปุ่นของเปาถึงขนาดกล่าวว่า ฝีมือของนักเล่นหมากล้อมญี่ปุ่นไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นที่หนึ่งของโลก (ก็มีทั้งจีนและเกาหลีที่อยุ่ในระดับทัดเทียมกัน) แต่เราสามารถพูดได้เต็มปากว่ามารยาทในการเล่นของเราเป็นที่หนึ่ง วันนี้เรามาลองดูกันนะคะว่ามารยาทของเค้าจะแตกต่างจากที่เราทำกันอยู่ในทุกวันนี้มั้ย ถ้าเรารู้ว่าที่เราทำอยู่มันผิด เราก็มาช่วยเปลี่ยนแปลงกันเถอะคะ