“ ฮิคารุ ” แรงบันดาลใจสู่ยอดฝีมือหมากล้อม
การแข่งขันหมากล้อม BMA Kids Go Tournament 2015
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2558 สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย, บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดยสำนักกิจกรรมสังคม, สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร และ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย (ฝ่ายประถม) ร่วมกันจัดงานแข่งขันหมากล้อมรายการ “BMA Kids Go Tournament 2015” ซึ่งมีนักเรียนจากโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครเข้าร่วมงานแข่งขันกว่า 400 คน
เคล็ดลับ “เจ้าพ่อซีพี” ใช้วิทยายุทธ์ “หมากล้อม” สร้างฐานะเป็นเศรษฐี
หมากล้อมจีนสมัยใหม่
พอเข้าถึงสมัยใหม่ หมากล้อมในญี่ปุ่นมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หมากล้อมในจีนค่อยๆถูกญี่ปุ่นแซงหน้า สมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย นักหมากล้อมจีนและญี่ปุ่นมีฝีมือที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก เมื่อได้ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น ภายใต้การสนับสนุนของนายพลเฉินอี้ (Chen Yi Marshal) หมากล้อมก็ได้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง บุคคลสำคัญที่มีส่วนมำให้หมากล้อมในจีนกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง ได้แก่ เฉินจู่เต๋อ(Chen Zude) เนี่ยเว่ยผิง(Nie Weiping) หม่าเสี่ยวชุน(Ma Xiaochun) ยวี๋ปิน(YuBin) ฉางเฮ่า(Chang Hao) กู่ลี่(Gu Li) เป็นต้น เฉินจู่เต๋อ 9 ดั้ง ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยพลิกฟื้นหมากล้อมในจีนกลับมา และได้ร่วมวิจัยสร้างรูปแบบการเปิดหมากแบบสามดาวจีนขึ้นมา เนี่ยเว่ยผิง 9ดั้ง เป็นเหมือนตัวแทนของหมากล้อมจีนเลย เป็นปรมาจารย์หมากล้อมแห่งยุคสมัย เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ทำให้หมากล้อมในจีนกลับมาบูมอีกครั้งหลังจากที่เขาแข่งศึกลุยไถจีน – ญี่ปุ่น แล้วเก็บชัยชนะ 11 กระดานรวด ในสมัยนั้น เนี่ยเว่ยผิงถือเป็นวีรบุรุษแห่งแผ่นดินจีนเลยทีเดียว และเป็นเหตุให้ชาวจีนหันมาศึกษาหมากล้อมกันอย่างคลั่งไคล้และทำให้หมากล้อมจีนกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้งหนึ่ง
หมากล้อมในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง
ในสมัยราชวงศ์หมิง กั้วไป่หลิง(过百龄,Guo Bailing) ยอดฝีมือหมากล้อมแห่งยุคหมิง ได้แต่งตำราหมากล้อมชื่อ “กวานจื่อผู่” (官子谱, Guanzi Pu) เป็นตำราหมากล้อมคลาสสิกอีกเล่มหนึ่ง เนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับเทคนิคการปิดเกมและรวบรวมหมากเด็ดต่างๆ นอกจากนี้ยังได้แต่งตำราหมากล้อมอีกสองเล่มสำคัญ ได้แก่ ซานจื่อผู่(三子谱, Sanzi Pu) และซื่อจื่อผู่(四子谱, Sizi Pu)
หมากล้อมในยุคสมัยราชวงศ์ถังซ่งและหยวน
ในสมัยราชวงศ์ถังและซ่ง หมากล้อมถือเป็นสมัยที่สองเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เนื่องจากบรรดาจักรพรรดิต่างชื่นชอบและเหตุผลอื่นๆ หมากล้อมได้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง ความนิยมเล่นหมากล้อมแผ่ขยายไปทั่วหล้า ในสมัยนี้ หมากล้อมไม่ได้มีประโยชน์แต่เพียงการสงคราม แต่คุณค่าสำคัญคือมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด ให้ความเพลิดเพลินและเพิ่มพูนสติปัญญา ผู้คนถือว่าการเดินหมากล้อม เล่นดนตรี แต่งบทกวี และการวาดภาพเป็นของที่สูงส่ง กลายมาเป็นเกมการละเล่นของผู้คนทุกเพศทุกวัย
หมากล้อมในยุคสมัยก่อนราชวงศ์ถัง
ต้นกำเนิดหมากล้อม
หมากล้อมมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ชื่อภาษาจีนของหมากล้อม คือ เหวยฉี (围棋, Weiqi) คนจีนสมัยโบราณเรียกหมากล้อมว่า “อี้” (弈, Yi) หมากล้อมถือเป็นหมากระดานที่เก่าแก่ที่สุดในกลุ่มหมากกระดานสมัยโบราณทุกชนิด มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 4,000 ปีแล้ว จากในบันทึก “ซื่อเปิ่น” กล่าวว่า จักรพรรดิเหยา (尧, Yao Emperor, 2357-2255 BC) เป็นผู้คิดค้นหมากล้อมขึ้นมา กล่าวว่ารัชทายาทของจักรพรรดิเหยานามว่าตันจู (丹朱, Danzhu)มีสติปัญญาไม่ฉลาด จักรพรรดิเหยาจึงสร้างหมากล้อมขึ้นมาเพื่อสอนรัชทายาทตันจู
มารยาทในการเล่นหมากล้อม (ญี่ปุ่น)
สวัสดีคะ วันนี้เปาก็อยากจะนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการเล่นหมากล้อมอย่างถูกต้องมาฝากผู้อ่านกัน เปาได้มีโอกาสได้ไปเล่นหมากล้อมที่ประเทศญี่ปุ่น ได้สัมผัสกับความมีระเบียบวินัยและมารยาทของคนญี่ปุ่น เพื่อนคนญี่ปุ่นของเปาถึงขนาดกล่าวว่า ฝีมือของนักเล่นหมากล้อมญี่ปุ่นไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นที่หนึ่งของโลก (ก็มีทั้งจีนและเกาหลีที่อยุ่ในระดับทัดเทียมกัน) แต่เราสามารถพูดได้เต็มปากว่ามารยาทในการเล่นของเราเป็นที่หนึ่ง วันนี้เรามาลองดูกันนะคะว่ามารยาทของเค้าจะแตกต่างจากที่เราทำกันอยู่ในทุกวันนี้มั้ย ถ้าเรารู้ว่าที่เราทำอยู่มันผิด เราก็มาช่วยเปลี่ยนแปลงกันเถอะคะ