คุณค่า 3 ประการของหมากล้อม
“ ฮิคารุ ” แรงบันดาลใจสู่ยอดฝีมือหมากล้อม
การแข่งขันหมากล้อม BMA Kids Go Tournament 2015

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2558 สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย, บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดยสำนักกิจกรรมสังคม, สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร และ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย (ฝ่ายประถม) ร่วมกันจัดงานแข่งขันหมากล้อมรายการ “BMA Kids Go Tournament 2015” ซึ่งมีนักเรียนจากโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครเข้าร่วมงานแข่งขันกว่า 400 คน
เคล็ดลับ “เจ้าพ่อซีพี” ใช้วิทยายุทธ์ “หมากล้อม” สร้างฐานะเป็นเศรษฐี
หมากล้อมจีนสมัยใหม่

พอเข้าถึงสมัยใหม่ หมากล้อมในญี่ปุ่นมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หมากล้อมในจีนค่อยๆถูกญี่ปุ่นแซงหน้า สมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย นักหมากล้อมจีนและญี่ปุ่นมีฝีมือที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก เมื่อได้ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น ภายใต้การสนับสนุนของนายพลเฉินอี้ (Chen Yi Marshal) หมากล้อมก็ได้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง บุคคลสำคัญที่มีส่วนมำให้หมากล้อมในจีนกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง ได้แก่ เฉินจู่เต๋อ(Chen Zude) เนี่ยเว่ยผิง(Nie Weiping) หม่าเสี่ยวชุน(Ma Xiaochun) ยวี๋ปิน(YuBin) ฉางเฮ่า(Chang Hao) กู่ลี่(Gu Li) เป็นต้น เฉินจู่เต๋อ 9 ดั้ง ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยพลิกฟื้นหมากล้อมในจีนกลับมา และได้ร่วมวิจัยสร้างรูปแบบการเปิดหมากแบบสามดาวจีนขึ้นมา เนี่ยเว่ยผิง 9ดั้ง เป็นเหมือนตัวแทนของหมากล้อมจีนเลย เป็นปรมาจารย์หมากล้อมแห่งยุคสมัย เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ทำให้หมากล้อมในจีนกลับมาบูมอีกครั้งหลังจากที่เขาแข่งศึกลุยไถจีน – ญี่ปุ่น แล้วเก็บชัยชนะ 11 กระดานรวด ในสมัยนั้น เนี่ยเว่ยผิงถือเป็นวีรบุรุษแห่งแผ่นดินจีนเลยทีเดียว และเป็นเหตุให้ชาวจีนหันมาศึกษาหมากล้อมกันอย่างคลั่งไคล้และทำให้หมากล้อมจีนกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้งหนึ่ง