หมากล้อมในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง
ในสมัยราชวงศ์หมิง กั้วไป่หลิง(过百龄,Guo Bailing) ยอดฝีมือหมากล้อมแห่งยุคหมิง ได้แต่งตำราหมากล้อมชื่อ “กวานจื่อผู่” (官子谱, Guanzi Pu) เป็นตำราหมากล้อมคลาสสิกอีกเล่มหนึ่ง เนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับเทคนิคการปิดเกมและรวบรวมหมากเด็ดต่างๆ นอกจากนี้ยังได้แต่งตำราหมากล้อมอีกสองเล่มสำคัญ ได้แก่ ซานจื่อผู่(三子谱, Sanzi Pu) และซื่อจื่อผู่(四子谱, Sizi Pu)
ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง ระดับฝีมือหมากล้อมได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวบ่งบอกคือการมีแบ่งสำนักหมากล้อมเกิดขึ้น ในช่วงสมัยระหว่างจักรพรรดิเจิ้งเต๋อและจักรพรรดิเจียจิ้งในยุคราชวงศ์หมิง มีสำนักหมากล้อมที่มีชื่อเสียงสามสำนัก ได้แก่ หนึ่งสำนักเป้าอีจง (ชาวหย่งเจีย) ประกอบด้วย หลี่ชง, โจวหยวน, สวีซิงโหย่ว รวมตัวกัน หรือเรียกว่าสำนักหย่งเจียไพ่ สองสำนักอี่เฉิงหรู่เลี่ยง (ชาวซินอาน) ประกอบด้วย วังฉู่ ฟางจื่อเชียน รวมตัวกัน หรือเรียกว่าสำนักซินอานไพ่ สามสำนักอี่เหยียนหลุน,หลีฝู่ (ชาวปักกิ่ง) หรือเรียกว่าสำนักจิงซือไพ่ ทางวามสำนักนี้มีทางหมากที่แตกต่างกัน การเปิดหมากการโจมตีป้องกันก็แตกต่างกัน แต่ล่วนเป็นนักหมากล้อมที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ต่อมาพวกเขาเหล่านี้ก็ได้เผยแพร่หมากล้อมไปสู่หมู่ชาวบ้าน และทำให้ก่อกำเนิดนักหมากล้อมตามตรอกซอกซอยขึ้นจำนวนมาก พวกเขามีแข่งประชันฝีมือหมากล้อมกันในหมู่ชาวบ้านบ่อยๆ จนทำให้หมากล้อมแพร่หลายไปอีกขั้นหนึ่ง จากการที่การแข่งขันหมากล้อมมีความนิยมมากขึ้นมา จึงทำให้เกิดการรวบรวมบันทึกหมากขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น “ชื่อฉิงลู่” “ฉืซื่อเซียนจี” “บันทึกหมากซานไฉถูฮุ่ย” “เซียนจีอู่คู่” รวมถึง “ประวัติศาสตร์หมากล้อม”และ “คำถามหมากล้อม” บันทึกหมากต่างๆจำนวน20กว่าชนิด ทั้งหมดล้วนเป็นของมีค่าที่ยังคงเก็บรักษาถึงปัจจุบัน เห็นได้ถึงสภาพการพัฒนาทฤษฎีหมากล้อมขั้นสูงในสมัยนี้
ในสมัยราชวงศ์ชิงนี้ มียอดฝีมือหมากล้อมเกิดขึ้นมากมาย ได้แก่ สวีซิงโหย่ว (徐星友, Xu Xingyou) ฮว๋างหลงซื่อ (黄龙士, Huang Longshi) ฟ่านซีผิง (范西屏, Fan Xiping) และ ซือติ้งเยียน (施定奄,Shi Dingyan)
ขอบคุณข้อมูจาก
http://games.sports.cn/zhuanti/wqgm/hc/2010-01-06/1948711.html
http://senseis.xmp.net/?GoHistory
แปลและเรียบเรียงโดย ธนพล เตียวัฒนานนท์ (ณฐ 4ดั้ง)